พัฒนาคนให้เท่าทันการพัฒนาเมือง
ร่วมกันสร้างระยองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
ด้วยระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่
นำสู่คุณลักษณ์ของคนระยองยุคใหม่

เป้าหมายของ RILA คือการสร้างระยองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้คนระยองทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกวัย สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย
มาดูกันว่าเราจะร่วมสร้างไปด้วยกันอย่างไร
รู้คิดการบ้านการเมืองอย่างเท่าทัน และสามารถสื่อสารได้ 3 ภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม รวมทั้งต้องทันภาษา Digital และภาษาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่
รู้รากเหง้าและสามารถต่อยอดภูมิปัญญา วิถีชีวิต เอกลักษณ์ และขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของระยอง พร้อมทั้งสามารถต่อยอดภูมิปัญญาเหล่านี้ให้ ร่วมสมัย เหมาะสมกับบริบทใหม่และการเปลี่ยนแปลง
รู้คุณค่าและมีความสามารถในจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่อย่างหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นป่าเขาหรือทะเล โดยรู้จักบริหารจัดการทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รู้เรื่องเมืองและความเป็นพลเมืองระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ที่มีเป้าหมายสู่การเป็นเมืองนานาชาติมาตรฐานโลก เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในอาเซียน และรู้บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองของระยอง ที่ต้องก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเมือง
รู้อาชีพเมืองระยอง มีสมรรถนะด้านการประกอบอาชีพในเมืองอุตสาหกรรมทันสมัย รู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิผล รวมทั้งลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การทำการเกษตรสมัยใหม่ที่ไม่ทำลายฐานทรัพยากร
การพัฒนาหลักสูตรระยอง Rayong-MARCO แหล่งเรียนรู้ และศูนย์สร้างสรรค์ภูมิปัญญาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาศักยภาพของคนระยอง คือ 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์การศึกษาของจังหวัด ที่จะทำให้ “ระยอง” เป็นจังหวัดขับเคลื่อนเรื่องการสร้างคนรับ EEC ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
ตอบโจทย์บริบทของระยองที่ต้องการให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นต้นแบบในการผลิต พัฒนากำลังคนสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
RILA เชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ให้เป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ของคนระยอง ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนได้มากที่สุด
ทีมงานวิจัย RILA ใช้กระบวนการ Social Lab ในการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำเข้าสู่การพัฒนาต้นแบบด้วยวิธี Design Thinking และนำไปประยุกต์ใช้งานจริง พร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูลกลับมาเพื่อพัฒนาต่อไป
RILA รับฟังความเห็นจากคนระยองทุกวัย จากหลากหลายอาชีพ และพื้นที่ เพื่อนำความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนระยองมากที่สุด
เราจะดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายช่องทาง
พันธมิตรของ RILA ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ชุมชนและภาคประชาสังคม และองค์กรธุรกิจ
RILA เดินตามแนวทาง Guideline for buiding learning city 2015 ขององค์การ UNESCO
รู้คิดการบ้านการเมืองอย่างเท่าทัน
และสามารถสื่อสารได้ 3 ภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม รวมทั้งต้องทันภาษา Digital และภาษาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่
รู้รากเหง้าและสามารถต่อยอดภูมิปัญญา
วิถีชีวิต เอกลักษณ์ และขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของระยอง พร้อมทั้งสามารถต่อยอดภูมิปัญญาเหล่านี้ให้
ร่วมสมัย เหมาะสมกับบริบทใหม่และการเปลี่ยนแปลง
รู้คุณค่าและมีความสามารถในจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่อย่างหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นป่าเขาหรือทะเล โดยรู้จักบริหารจัดการทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รู้เรื่องเมืองและความเป็นพลเมืองระยอง
ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ที่มีเป้าหมายสู่การเป็นเมืองนานาชาติมาตรฐานโลก เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในอาเซียน และรู้บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองของระยอง ที่ต้องก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเมือง
รู้อาชีพเมืองระยอง
มีสมรรถนะด้านการประกอบอาชีพในเมืองอุตสาหกรรมทันสมัย รู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิผล รวมทั้งลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การทำการเกษตรสมัยใหม่ที่ไม่ทำลายฐานทรัพยากร
การพัฒนาหลักสูตรระยอง Rayong-MARCO แหล่งเรียนรู้ และศูนย์สร้างสรรค์ภูมิปัญญาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาศักยภาพของคนระยอง คือ 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์การศึกษาของจังหวัด ที่จะทำให้ “ระยอง” เป็นจังหวัดขับเคลื่อนเรื่องการสร้างคนรับ EEC ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์บริบทของระยองที่ต้องการให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นต้นแบบในการผลิต พัฒนากำลังคนสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
ระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ของระยอง
RILA เชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ให้เป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ของคนระยอง ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนได้มากที่สุด
ทีมงานวิจัย RILA ใช้กระบวนการ Social Lab ในการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำเข้าสู่การพัฒนาต้นแบบด้วยวิธี Design Thinking และนำไปประยุกต์ใช้งานจริง พร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูลกลับมาเพื่อพัฒนาต่อไป
RILA รับฟังความเห็นจากคนระยองทุกวัย จากหลากหลายอาชีพ และพื้นที่ เพื่อนำความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ มาพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนระยองมากที่สุด
เราจะดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายช่องทาง
ตัวอย่างพื้นที่การเรียนรู้สาขาต่าง ๆ ในจังหวัดระยอง
พันธมิตรของ RILA ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ชุมชนและภาคประชาสังคม และองค์กรธุรกิจ
RILA เดินตามแนวทาง Guideline for buiding learning city 2015 ขององค์การ UNESCO